ข้อแตกต่างที่ต้องรู้ ช้อปดีมีคืน 2567 ไม่เหมือนเดิมแล้วนะ

ช้อปดีมีคืน 2567

การดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคนต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการบริโภคเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นธรรมดา แต่ถ้าการใช้จ่ายเพื่อบริโภคและอุปโภคนั้นไม่ใช่แค่การใช้จ่ายเฉย ๆ แต่เป็นการใช้จ่ายที่ได้เงินคืนกลับมาด้วยจะเป็นอะไรที่สนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่ไม่ว่าอย่างไรก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่จ่ายไม่ได้ ภาครัฐจึงมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้การลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจ ช้อปดีมีคืน 2567 ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งสำหรับการซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีในปีนี้ แต่รายละเอียดมีความแตกต่างจากโครงการช้อปดีมีคืนของปีที่แล้วที่ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้สิทธิ์

ช้อปดีมีคืน 2567 ชื่อโครงการใหม่คือ Easy e-Receipt 

เดิมช้อปดีมีคืน คือโครงการที่ภาครัฐกำหนดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยคาดหวังว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มองสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีมากขึ้นด้วย ระยะเวลาในการดำเนินโครงการคือช่วงต้นปี ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องมีการยื่นเสียภาษีประจำปีอยู่แล้ว ดังนั้น ระยะเวลาของโครงการ ทั้งช้อปดีมีคืนของปี 2566 และช้อปดีมีคืน 2567 จึงกำหนดให้อยู่ในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ นั่นเอง

หลายคนที่เคยใช้สิทธิ์โครงการเมื่อปี 2566 ไปแล้วจึงอาจคุ้นกับชื่อช้อปดีมีคืนมากกว่า จึงเรียกโครงการในปีนี้ว่าช้อปดีมีคืน 2567 ไปด้วย แต่ปีนี้ชื่อโครงการเปลี่ยนเป็น Easy e-Receipt เนื่องจากรูปแบบของหลักฐานที่ใช้เปลี่ยนไปเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบแล้วนั่นเอง นอกจากนี้ ช่วงแรก ๆ ที่ดำเนินโครงการอาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์หากไม่ได้ศึกษารายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น คิดว่าสามารถซื้อสินค้าเพื่อนำมาลดหย่อนได้ทุกคนแม้ยังมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี คิดว่าซื้อของแล้วจะได้รับเงินคืนทันทีเต็มจำนวน คิดว่าซื้ออะไรก็ได้แล้วเอาใบเสร็จไปยื่นภาษีได้เลย เป็นต้น 

ช้อปดีมีคืน 2567 แตกต่างจากโครงการปีที่แล้วอย่างไร

ช้อปดีมีคืน 2567 หรือโครงการ Easy e-Receipt ที่เปลี่ยนชื่อแล้วนั้น มีรายละเอียดที่ต่างกันคือจำนวนสิทธิ์ที่ใช้ได้ และรูปแบบของหลักฐานที่ใช้ยื่นลดหย่อนภาษี ในส่วนของประเภทของสินค้าที่สามารถซื้อได้อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ค่าเติมน้ำมันที่ปี 2566 ใช้ได้ แต่ปี 2567 กำหนดว่าไม่ได้ แต่โดยหลักการสำคัญแล้วไม่แตกต่างกันมากนัก และควรยึดรูปแบบตามโครงการล่าสุดเป็นหลัก เพื่อให้สามารถวางแผนซื้อสินค้าและบริการตรงตามข้อกำหนดของโครงการได้ โดยไม่เสียเวลาเมื่อไปถึงหน้าร้านแล้ว

ช้อปดีมีคืน 2567

1. จำนวนเงินที่จะได้รับการลดหย่อนตามสิทธิของโครงการ

โครงการ Easy e-Receipt ที่ดำเนินการในปี 2567 มีจำนวนสิทธิที่ใช้ลดหย่อนได้มากกว่าโครงการช้อปดีมีคืนปี 2566 ถึง 10,000 บาท โดยจำนวนค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนได้จะอยู่ที่ 50,000 บาท ทั้งนี้ จำนวนที่ได้รับลดหย่อนนั้นไม่ใช้การได้รับเงินคืนเต็มจำนวน แต่เป็นการคำนวณจากฐานเงินได้และอัตราเสียภาษีของแต่ละคน โดยผู้มีเงินได้สุทธิต่อปี 5,000,000 บาทขึ้นไป ซึ่งมีฐานภาษีสูงสุดที่ 35 % โครงการช้อปดีมีคืนปี 2566 จะได้รับลดหย่อนสูงสุดอยู่ที่ 14,000 บาท ในขณะที่โครงการ Easy e-Receipt 2567 จะได้รับการลดหย่อนสูงสุดที่ 17,500 บาท

2. รูปแบบของใบกำกับภาษีหรือใบรับ

โครงการ Easy e-Receipt เปลี่ยนรูปแบบการใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูป และใบเสร็จรับเงินเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ในขณะที่โครงการปี 2566 ยังสามารถใช้ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินทั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์และแบบกระดาษควบคู่กันได้ ผู้ใช้สิทธิ์จึงต้องตรวจสอบก่อนว่า ร้านค้าหรือผู้ประกอบสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ หรือใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้หรือไม่ ในขณะที่รายละเอียดบนใบกำกับภาษี (หรือใบเสร็จสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ยังต้องมีส่วนสำคัญตามเดิม ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขบัตรประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าและบริการอย่างชัดเจน

โครงการ Easy e-Receipt หรือช้อปดีมีคืน 2567 เป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีต้องติดตามข่าวสารเอาไว้ นอกเหนือจากการใช้วิธีลดหย่อนภาษีจากช่องทางต่าง ๆ เช่น ลงทุนในกองทุนรวมที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทำประกันชีวิต ไปจนถึงการกู้บ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อให้บริหารจัดการเงินได้เข้ากับแผนชีวิตของตัวเองมากยิ่งขึ้นจากทางเลือกในการบริโภคที่มากขึ้นด้วยนั่นเอง